หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เบ้าหลอมวัฒนธรรม

วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
          การติดต่อกับชาวต่างชาติของคนไทยในยุคสมัยต่าง ๆ มีผลต่อสังคมไทยหลายด้าน  วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย  โดยวัฒนธรรมบางอย่างได้ถูกปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตและประเพณีดั้งเดิมของคนไทย  ขณะที่วัฒนธรรมบางอย่างรับมาใช้โดยตรง
          1.  วัฒนธรรมตะวันออกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
          อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกต่อสังคมไทยมีมาตั้งแต่ก่อนการตั้งอาณาจักรของคนไทย  เช่น  สุโขทัย  ล้านนา  ซึ่งมีทั้งวัฒนธรรมที่รับจากอินเดีย  จีน  เปอร์เซีย  เพื่อนบ้าน  เช่น  เขมร  มอญ  พม่า  โดยผ่านการติดต่อค้าขาย  การรับราชการของชาวต่างชาติ  การทูต  และการทำสงคราม
          สำหรับตัวอย่างอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกที่มีต่อสังคมไทยมีดังนี้
                    1.  ด้านอักษรศาสตร์  เช่น  ภาษาไทยที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยสุโขทัยได้รับอิทธิพลจากภาษาขอม  รับภาษาบาลี  ภาษาสันสกฤตจากหลายทางทั้งผ่านพระพุทธศาสนา  ผ่านศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  จากอินเดีย  เขมร  นอกจากนี้  ในปัจจุบันภาษาจีน  ญี่ปุ่น  เกาหลี  ก็ได้มีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากขึ้น
                    2.  ด้านกฎหมาย  มีการรับรากฐานกฎหมาย  มีการรับรากฐานกฎหมายอินเดีย  ได้แก่  คัมภีร์พระธรรมศาสตร์  โดยรับผ่านมาจากหัวเมืองมอญอีกต่อหนึ่ง  และกลายเป็นหลักของกฎหมายไทยสมัยอยุธยาและใช้มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
                    3.  ด้านศาสนา  พระพุทธศาสนาเผยแผ่อยู่ในผืนแผ่นดินไทยมาเป็นเวลายาวนานแล้ว  ดังจะเห็นได้จากแว่นแคว้นโบราณ  เช่น  ทวารวดี  หริภุญชัยได้นับถือพระพุทธศาสนา  หรือสุโขทัย  รับพระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชและได้ถ่ายทอดให้แก่อาณาจักรอื่น ๆ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมของคนไทยตลอดมา  นอกจากนี้  คนไทยยังได้รับอิทธิพลในการนับถือศาสนาอิสลามที่พ่อค้าชาวมุสลิมนำมาเผยแผ่  รวมทั้งคริสต์ศาสนาที่คณะมิชชันนารีนำเข้ามาเผยแผ่ในเมืองไทยนับตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา
                    4.  ด้านวรรณกรรม  ในสมัยอยุธยาได้รับวรรณกรรมเรื่องรามเกรียรติ์  มาจากเรื่องรามายณะของอินเดีย  เรื่องอิเหนาจากชวา  ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการแปลวรรณกรรมจีน  เช่น  สามก๊ก  ไซอิ๋ว  วรรณกรรมของชาติอื่น ๆ เช่น  ราชาธิราชของชาวมอญ  อาหรับราตรีของเปอร์เซีย  เป็นต้น
                    5.  ด้านศิลปวิทยาการ  เช่น    เชื่อกันว่าชาวสุโขทัยได้รับวิธีการทำเครื่องสังคโลกมาจากช่างชาวจีน  รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาจากอินเดีย  ศรีลังกา
                    6.  ด้วยวิถีการดำเนินชีวิต  เช่น   คนไทยสมัยก่อนนิยมกินหมากพลู  รับวิธีการปรุงอาหารที่ใส่เครื่องแกง  เครื่องเทศจากอินเดีย  รับวิธีการปรุงอาหารแบบผัด  การใช้กะทะ  การใช้น้ำมันจากจีน  ในด้านการแต่งกาย  คนไทยสมัยก่อนนุ่งโจงกระเบนแบบชาวอินเดีย  เป็นต้น
          2.  วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
          ไทยได้รับวัฒนธรรมตะวันตกหลายด้านมาตั้งแต่สมัยอยุธยา  ในระยะแรกเป็นความก้าวหน้าด้านการทหาร  สถาปัตยกรรม  ศิลปวิทยาการ  ในสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 3  เป็นต้นมา  คนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น  ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีของคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน
          ดัวอย่างวัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยที่สำคัญมีดังนี้
                    1.  ด้านการทหาร  เป็นวัฒนธรรมตะวันตกแรก ๆ ที่คนไทยรับมาตั้งแต่อยุธยา  โดยซื้ออาวุธปืนมาใช้  มีการสร้างป้อมปราการตามแบบตะวันตก  เช่น  ป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา  ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส  ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจ้างชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการทหาร  มีการตั้งโรงเรียนนายร้อย  การฝึกหัดทหารแบบตะวันตก
                    2.  ด้ารการศึกษา  ในสมัยรัชกาลที่ 3  มีชนชั้นนำจำนวนหนึ่ง  เช่น  พระอนุชาและขุนนางได้เรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตก  ในสมัยรัชกาลที่ 4  ทรงจ้างครูต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษและความรู้แบบตะวันตกในราชสำนัก
                    ในสมัยรัชการลที่ 5  มีการตั้งโรงเรียนแผนใหม่  ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมาจัดการศึกษาแบบใหม่  ทรงส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาที่ประเทศต่าง ๆ เช่น  โรงเรียนแพทย์  โรงเรียนกฎหมาย  ในสมัยรัชกาลที่ 6  มีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับและการตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                    3.  ด้านวิทยาการ  เช่น  ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์จนสามารถคำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างถูกต้อง  ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่  ซึ่งเริ่มในสม้ยรัชกาลที่ 3  ในสมัยรัชกาลที่ 5  มีการจัดตั้งโรงพยาบาล  โรงเรียนฝึกหัดแพทย์และพยาบาล  ความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตกนี้ได้เป็นพื้นฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยในปัจจุบัน
                    ด้านการพิมพ์  เริ่มจากการพิมพ์หนังสือพิมพ์รายปักษ์ภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2387  ชื่อ  "บางกอกรีคอร์เดอร์"  การพิมพ์หนังสือทำให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายมากขึ้น  ในด้านการสื่อสารคมนาคม  เช่น  การสร้างถนน  สะพาน  โทรทัศน์  โทรศัพท์  กล้องถ่ายรูป  รถยนต์  รถไฟฟ้า  เครื่องคอมพิวเตอร์  เป็นต้น  ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่คนไทยเป็นอย่างมาก
                    4.  ด้านแนวคิดแบบตะวันตก  การศึกษาแบบตะวันตกทำให้แนวคิดทางการปกครอง  เช่น  ประชาธิปไตย  คอมมิวนิสต์  สาธารณรัฐแพร่เข้ามาในไทย  และมีความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง  นอกจากนี้  วรรณกรรมตะวันตกจำนวนมากก็ได้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการประพันธ์จากร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว  และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ในสังคมไทย  เช่น  การเข้าใจวรรณกรรมรูปแบบนวนิยาย  เช่น  งานเขียนของดอกไม้สด  ศรีบูรพา
                    5.  ด้านวิถีการดำเนินชีวิต  การรับวัฒนธรรมตะวันตกและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาใช้  ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป  เช่น  การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารแทนการใช้มือ  การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น  การใช้เครื่องแต่งกายแบบตะวันตกหรือปรับจากตะวันตก  การปลูกสร้างพระราชวัง  อาคารบ้านเรือนแบบตะวันตก  ตลอดจนนำกีฬาของชาวตะวันตก  เช่น  ฟุตบอล  กอล์ฟ  เข้ามาเผยแพร่  เป็นต้น

 อธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติในสังคม แยกเป็นด้านต่าง ๆ นี้
       1. ทางการศึกษา วัฒนธรรมขอมอินเดีย เข้ามามีอธิพลในสมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา
            - ภาษาตะวันตก เริ่มเข้าสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อร้อยเอกเจมส์ โลว์ ชาวอังกฤษ
คิดตัวพิมพ์ภาษาไทยได้สำเร็จ
            - รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการปฎิรูปการศึกษาและสังคมมีการตั้ง
กระทรวงธรรมการ เริ่มมีการจัดการศึกษาแบบตะวันตกตั้งแต่นั้นมา
           - ปัจจุบันระบบการศึกษาของไทยยึดหลักแนวทางจากประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งทางด้านปรัชญา
การศึกษา เนื้อหา และกระบวนการเรียนการสอน ส่วนวิทยาการสมัยใหม่ ในวงการศึกษาของไทยรับมาจาก
ตะวันตกเป็นส่วนใหญ่
       2. ทางการเมือง
           -
สมัยสุโขทัยการปกครองเป็นแบบพ่อปกครองลูก
           - สมัยกรุงศรีอยุธยา รับอธิพลจากขอมและอินเดีย เป็นแบบลัทธิเทวราช กษัตริย์ เป็นสมมติเทพ
(ข้ากับเจ้า บ่าวกับนาย)
           - สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีสภาที่ปรึกษา นับเป็นการเริ่มเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2575 จึงเป็นประชาธิปไตยโดยแท้จริง ซึ่งได้รับอธิพลจากประเทศในยุโรป   
       3. ทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบเสรีนิยม หรือทุนนิยม ได้รับอธิพลจากตะวันตกมาที่สุด
       4. ทางสังคมและวัฒนธรรม อิทธิพลจากต่างชาติทำให้วิถีชีวิตคนไทยเปลี่ยนแปลงไป ความเอื้อเฟื้อ
เผื่อแผ่ เห็นอกเห็นใจมีความอบอุ่นน้อยลง มีการชิงดีชิงเด่น ความสัมพันธ์เปลี่ยนเป็นแบบทุติยภูมิ

         วัฒนธรรมอินเดียที่มีอธิพลต่อวัฒนธรรมไทย



พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ




ไหว้พระภูมิ

โกนจุก
         1. การเมืองการปกครอง กษัตริย์เป็นเทวราชตามศาสนาพราหมณ์เกิดระบบเจ้าขุนมูลนายส่วนประมวล
กฎหมายพระมนูธรรมศาสตร์ของอิเดียนั้นเป็นที่มาของกฎหมายตราสามดวงในประเทศไทยและกฎมณเฑียรบาล
         2. ศาสนา ศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนาทำให้เกิดประเพณีต่าง ๆ มากมาย เช่น
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ โกนจุก หลักทศพิธราชธรรม
         3. ภาษาและวรรณกรรม รับภาษาบาลีและสันสกฤต เพื่อให้เกิดความเจริญงอกงามทางภาษา แต่ไม่ใช่
คำพูด ไม่มีอธิพลเหมือนภาษาตะวันตก วรรณกรรมคือมหากาพย์รามายณะมหาภารตยุทธ และพระไตรปิฎก
         4. ศิลปกรรม ส่วนใหญ่เกี่ยวกับศาสนา ได้แก่ การสร้างสถูป เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป จิตรกรรมฝาผนัง
ท่าร่ายร่ำต่าง ๆ

         วัฒนธรรมจีนที่มีอธิพลต่อวัฒนธรรมไทย


          จีนเข้ามาสมัยกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุทธยาโดยเข้ามาค้าขาย ในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์
เข้ามาทำมาหากิน ทำให้เกิดการผสมผสานวัฒนธรรมไทยกับจีนจนกลายเป็นวัฒนธรรมไทยอิทธิพลวัฒนธรรมจีน
ต่อวัฒนธรรมไทยได้แก่
         1. ความเชื่อทางศาสนา เป็นการผสมผสาน การบูชาบรรพบุรุษ การนับถือเจ้า ส่วนการไหว้พระจันทร์ เทศกาลกินเจ ชาวไทยเชื้อสายจีนรุ่นใหม่ยอมรับวัฒนธรรมเดิมของจีนน้อยลงทุกที
         2. ด้านศิลปกรรม เครื่องชามสังคโลกเข้ามาในสมัยสุโขทัย
         3. ด้านวรรณกรรม การแปลวรรณกรรมจีนเป็นภาษาไทยเริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ได้แก่ สามก๊ก อำนวยการแปลโดย เจ้าพระยาคลัง (หน) กลายเป็นเพชรน้ำงามแห่งวรรณคดีไทย
         4. วัฒนธรรมอื่น ๆ มีอาหารจีน และ "ขนมจันอับ" ที่กลายเป็นขนมที่มีบทบาทในวัฒนธรรมไทยใช้ในพิธี
ก๋วยเตี๋ยวก็กลายมาเป็นอาหารหลักของไทย นอกจากนี้ยังมีข้าวต้มกุ๊ย ผัดซีอิ๊ว และซาลาเปา เป็นต้น

         วัฒนธรรมชาตินิยมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทย
         โปรตุเกส เป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 นำวัฒนธรรมการทำปืนไฟ
การสร้างป้อมต่อต้านปืนไฟ ยุทธวิธีทางการทหาร การทำขี้ผึ้งรักษาแผล การทำขนมฝอยทอง ขนมฝรั่ง
เป็นอาหารอาสาสมัยพระชัยราชาธิราช รบกับพม่า 120 คน
        ฮอลันดา เข้ามาในราชสำนักสมัยพระเอก เข้ามาสมัยในสมัยพระนเรศรวรมหาราช อาคารที่ฮอลัดดาสร้าง ไทยเรียกว่า "ตึกวิลันดา" นำอาวุธปืนมาขาย รวมทั้งเครื่องแก้ว กล้องยาสูบ เครื่องเพชรเครื่องพลอย ในสมัย
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ทรงพอพระทัยแว่นตา และกล้องส่องทางไกลจากฮัอลันดา
        อังกฤษ เข้ามาในราชสำนักสมัยพระเอกาทศรถ มุ่งทางด้านการค้า แต่สู้ฮอลันดาไม่ได้ เช่น ยอร์ช ไวท์
มีต่ำแหน่งเป็นออกหลวงวิชิตสาคร ส่วน แซมมวล ไวท์ ได้เป็นนายท่าเมืองมะริด
       ฝรั่งเศษ เข้ามาสมัยพระนารายณ์มหาราช เพื่อเผยแผ่ศาสนาคริสต์ คณะบาทหลวงได้นำความรู้ด้าน
การแพทย์ การศึกษา การทหาร ดาราศาสตร์ การวางท่อปะปา การสร้างหอดูดาวที่ลพบุรีและอื่น ๆ อีกหลายแห่ง
       ในสมัยอยุทธยาตอนปลาย ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกลดลง และหยุดชะงักไป
        ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรับปรุงประเทศตามแบบตะวันตกโดยมีการเปิด
สัมพันธืทางการทูต เพราะตะหนักถึงภยันตรายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เป้นการป้องกันการแทรกแซงภายใน
วัฒนธรรมตะวันตกจึงเริ่มผสมผสานจนเป็นที่ยอมรับและเข้ามามีบทบาทในด้านต่าง ๆ ดังนี้
        1. การเมืองการปกครอง รับเอาประเพณี ค่านิยม วัฒนธรรม เข้ามาในประเทศ เพราะมีพระบรมศานุวงศ์
ไปเรียนต่างประเทศ มีการปฎิรูปการปกครองแบบชาติตะวันตก ตั้งกระทรวง 12 กระทรวง
        2. เศรษฐกิจ ยกเลิกระบบไพร่ เลิกทาส ใช้เงินตราเป็นตัวกลางในการซื้อขาย ตั้งธนาคารแห่งแรก คือ
บุคคลัภยื (Book Club) ต่อมาคือธนาคารไทยพาณิชย์
       3. ด้านสังคม เลิกระบบหมอบคลาน
มาเป็นแสดงความเคารพ ให้นั่งเก้าอี้แทนเปลี่ยนแปลงการแต่งกาย
จัดการศึกษาเป็นระบบโรงเรียน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ออกพระาชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464
การศึกษาขยายถึงระดับมหาวิทยาลัย มีพระราชบัญญัตินามสกุล และคำนำหน้าชื่อ นาย นาง นางสาว เด็กหญิง
เด็กชาย
        สรุปได้ว่า คนไทยมีวัฒนธรรมที่เป็นของตนเองมาตั้งแต่สุโขทัย ซึ่งแสดงออกถึงความเป็นชาติที่มีความรัก ความสามัคคีและสงบสุข อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมไทยก็เหมือนวัฒนธรรมของชนชาติอื่นที่เป็นวัฒนธรรม
แบบผสมผสาน คือ
       1. มีวัฒนธรรมดังเดิมเป็นของตนเอง
       2. รับเอาวัฒนธรรมอื่นจากภายนอกที่ได้ติดต่อสัมพันธ์กัน มาผสมผสานให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม

เอกลักษณ์ของวัฒนธรรม

       เอกลักษณ์เป้นลักษณะเด่นของสังคมที่เห็นได้ชัด ซึ่งแตกต่างไปจากสังคมอื่น เพราะเกิดจากการสั่งสม
ของวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีมาเป็นเวลาช้านาน เอกลักษณ์ไทยจึงเป็นเอกลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจ
ของชนชาวไทยทุกคนในการมีชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ภาษา ศิลปกรรม อาหาร การแต่งกาย เป็นของ
ตนเอง
คนไทยทุกคนจึงต้องช่วยกันอนุรักษ์ ส่งเสริมและพัฒนาเอกลักษณ์ไทยให้อยู่คู่กับสังคมไทยตลอดไป


       ความหมายของเอกลักษณ์ไทย
      
 เอกลักษณ์คือ ลักษณะที่เด่นชัดของสังคมใดสังคมหนึ่ง ซึ่งลักษณะเหมือนกัน หรือร่วมกันของสังคมนั้น ๆ
ที่เห็นได้ชัดเจนว่าแตกต่างจากลักษณะของสังคมอื่น
       เอกลักษณ์ไทยจึงหมายถึง ลักษณะของความเป็นไทยที่ดูแล้วแตกต่างจากลักษณะสังคมของชนชาติอื่น
มีความแตกต่าง ซึ่งอาจมองได้จากรูปลักษณะ การประพฤติปฎิบัติ กิริยาท่าทาง การแต่งกาย วัฒนธรรม
จารีตประเพณี ฯลฯ สังเกตได้ว่าลักษณะเด่นของความเป็นไทยนั้นไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ก้สามารถแยกออกจาก
ชนชาติอื่นได้ นอกจากภาษาพูดแล้ว ความยิ้มแย้มแจ่มใสก็เป็นลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของสังคมไทย จนชาว
ตะวันตกขนานนามว่า "สยามเมืองยิ้ม"

      เอกลักษณ์เด่นของวัฒนธรรมไทยพอสรุปได้ดังนี้

        จุดเด่นของวัฒนธรรมไทย


       - เป็นวัฒนธรรมที่มีพื้นฐานมาจากเกษตรกรรมเป็น "วัฒนธรรมเกษตร" เช่น มีการช่วยเหลือกัน เรียกว่า
การลงแขกเกี่ยวข้าว การแห่นางแมวเพื่อขอฝน การทำขวัญข้าว ไหว้แม่โพสพ
        - เป็นสังคมที่มีความสนุกสนาน การทำงานจะเป็นไปพร้อมกับความรื่นเริง เช่น เมื่อเกี่ยวข้าวจะร้องเพลง
ไปด้วย "เกี่ยวเถอะนะแม่เกี่ยวชะชะเกี่ยวเถอะนะแม่เกี่ยว อย่ามัวแลเหลียว เดี๋ยวเคียวจะเกี่ยวก้อยเอย"
        - เป็นสังคมที่เทิดทูลพระมหากษัตริย์ด้วยความจงรักภักดี
        - นับถือพระพุทธศาสนา เป็นสังคมชาวพุทธ มีพุทธศานิกชนให้ความสำคัญ
        - มีน้ำใจของความเป็นไทย พึ่งพาอาศัยกัน รักความสงบ
        - ชอบเรื่องการทำบุญ สร้างกุศล และช่วยงานบุญกกกกกุศล
 
        เอกลักลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย

ประเพณีไทย

        - ภาษาไทย ตัวอักษรไทย ซึ่งนับว่าเป็นอารยธรรมขั้นสูง
        - อาหารไทย เช่นน้ำพริกปลาทู หรือต้มยำกุ้ง ที่เ็นที่รู้จักและโด่งดังไปทั่วโลก
        - สมุนไพรไทย แม้แต่ต่างชาติก็ให้ความมสนใจ เช่น ว่านหางจระเข้ กระชายดำ กราวเครือ

        - ฉายาสยามเมืองยิ้ม ซึ่งแสดงถึงความยิ้มแย้มแจ่มใส มีอัธยาศัย ซึ่งหายากในชนชาติอื่น
        - มารยาทไทย เช่นการไหว้ เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก การมีสัมมาคารวะ เคารพผู้อาวุโส รู้จักกาลเทศะ
        - ประเพณีไทย เช่น ผีตาโขน บุญบั้งไฟ การแห่ปราสาทผึ้ง แห่นางแมว
        - การแสดงแบบไทย เช่นลิเก โขน รำวง
        - ดนตรีไทย เช่นระนาด ปี่ ขลุ่ย อังกะลุง
        - การละเล่นไทย เช่น มอญซ่อนผ้า ลำตัด

        - สิ่งก่อสร้างเช่นเรือไทย
        - เพลงไทย เช่นเพลงไทย(เพลงไทยเดิม) เพลงลูกทุ่ง
เอกลักษณ์ที่สำคัญของสังคมไทย
          เอกลักษณ์ของสังคมไทย เป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นไทยที่บรรพบุรุษได้สั่งสม สืบทอดโดยมอบเ็ป็น
มรดกให้แก่อนุชนรุ่นหลังไว้ได้เป็นความภาคภูมิใจในความเป็นชาติ ซึ่งเอกลักษณ์นี้ นับว่าเป็นสิ่งที่ดี คนไทย
ควรนำมาปฏิบัติและสืบสานต่อไป


    เอกลักษณ์ที่ดีและควรสืบสานในสังคมไทย
           1. เป็นสังคมที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข สถาบันพระมหากษัตริย์นับว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจ
ของคนไทยทั้งชาติ กษัตริย์ไทยโบราณ จนถึงปัจจุบันทรงเป็น ผู้นำประเทศให้พ้นภัย ทำนุบำรุง ประเทศชาติ
ให้รุงเรือง
           2. สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ซึ่งเ้นอาชีพหลักมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้คนไทยมีความผูกพันกับธรรมชาติ มีความอดทน การร่วมมือร่วมใจ รู้จักบุญคุณของธรรมชาติและบุญคุณของแผ่นดิน
           3. ครอบครัว เป็นเอกลักษณ์ของสังคมที่มีความสสัมพันธ์แน่นแฟ้น มีความผูกพันเคารพในระบบอาวุโส
ทำให้คนไทยมีความอ่อนน้อมถอมตน รู้จักาลเทศะ
          4. ศาสนา สังคมไทยมีศาสนาพุทธเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจมาแต่อดีต และเป็นศาสนาที่คนไทย
นับถือ กันมากที่สุด หลักธรรมคำสั่งสอนของพุทธศาสนา สอนให้คนไทยยึดถือทางสายกลาง เชื่อในเรื่องบาป
บุญ คุณโทษ หลักคำสอนของพระพุทธศาสนามีความเป็นวิทยาศาสตร์ แม้แต่ชาวต่างชาติก้หันมานับถือ
และบวชในพระพุทธศาสนากันมาก
          5. ภาษา เริ่มกันมาแต่สมัยสุโขทัย โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทำให้คนไทยมีภาษาไทยใช้
เป็้นเอกลักษณ์คนไทยจึงควรพูดและเขียนภาาาไทยให้ถูกต้อง เพื่อสืบทอดให้ลูกหลานต่อไป
          6. รักอิสระ หรืออาจใช้คำว่า ความเป็นไท ไม่ขึ้นกับใคร แสดงความเป็นเอกราช ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ
ทีควรดำรงไว้
          7. ศิลปกรม
คือ ผลงานที่ช่างฝีมือไทยหรือศิลปินไทยได้สร้างสมไว้จากความรู้สึกนึกคิดหรือจินตนาการ
แบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
          7.1 จิตรกรรม (Painting)

                จิตกรรมไทย หมายถึง ภาพที่แสดงถึงเรื่องราว ตลอดไปถึงการเขียนภาพลวดลายประดับตกแต่ง
ในงานช่างต่าง ๆ ซึ่งเป็นศิลปกรรมชั้นสูง และเพืื่อให้เกิดความสวยงามในศิลปะตามคติของชาติ
          7.2 ประติมากรรมไทย (Sculpture)
                งานประติมากรรมไทย
หมายถึง งานปั้น
และงานแกะสลัก ที่ต้องนำมาทำการหล่ออีกทีหนึ่ง
ซึ่งเป็นงานฝีมือ โดยมากมักจะเป็นการปั้นเกี่ยวกับพระพุทธรูป มีตั้งแต่ขนาดเล็กจนไปถึงขนาดใหญ่ เครื่งใช้
และเครื่องประดับต่าง ๆ
             7.3 สถาบัตยกรรม คือ อาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น อาคาร ตึก บ้านเรือน พระมหาราขวัง
ตลอดจนอนุสาวรีย์ใหญ่ ๆ พีรามิด สถูป เจดีย์ วิหาร ปราสาท พระปรางค์ มณฑป อุโบสถ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า
งานสถาปัตยกรรมมักควบคู่ไปกับงานประติมากรรม ซึ่งทำให้สิ่งก่อสร้างดูสวยงาม
อ่อนช้อย
          7.4 วรรณกรรม (Literature)
                วรรณกรรม
คือ  หนังสือทั้งประเภทร้อยกรอง(โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน) และร้อยแก้ว คือ
เรียงความธรรมดา รวมถึงการจดจำเรื่องราวต่าง ๆ เช่น นิทาน ตำนานด้วยวรรณกรรมที่เป็นอมตะ เช่น
พระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน
          7.5 นาฎศิลป์ และดุริยางคศิลป์ (Music and Dramatic)
                นาฎศิลป์และดนตรี หรือคีตกรรม
คือ ดนตรีทุกประเภท รวมทั้งการร่ายรำ ระบำต่าง ๆ   เช่น
โขน ลิิเก ละครรำ รำไทย การแสดงต่าง ๆ เป็นต้น
การอนุรักษ์และการพัฒนาเอกลักษณ์ของสังคมไทย                  เอกลักษณ์ของไทยเป้นสิ่งที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์และสั่งสมมานานจนเป็ยมรดกมาสู่อนุชนรุ่นหลัง
และเ้ป็นส่วนหนึ่งของวิถีการดำเนินชีวิตของสังคมไทย คนไทยทุกคนจึงมีหน้าที่ร่วมกันที่ต้องช่วยกันอนุรักษ์
สืบสานเพื่อดำรงไว้ให้เป็นมรดกของชาติสืบไป
         ดังนั้นองค์ประกอบของภาคเอกชน จึงควรร่วมมือกันโดยแบ่งเป็นระดับดังนี้
         1. ระดับชาติ องค์การของรัฐมีหน้าที่รับผิดชอบต่องานเอกลักษณ์ของชาติโดยตรงต้องกำหนดนโยบาย
ให้การสนับสนุน ส่งเสริมเอาจริงเอาจัง รวมทั้งสื่อมวลชนต้องเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เห็นคุณค่าและความสำคัญ
ในเอกลักษณ์ของชาติ เพราะเป็นหน้าที่ของทุกคน
         2. ระดับท้องถิ่น  องค์กรในท้องถิ่นต้องส่งเสริมประชาชนให้เห็นคุนค่าของเอกลักษณ์ไทย โดยช่วยกัน
คิดค้น เผยแพร่ นำภูมิปัญญาของท้องถิ่นออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์ อีกทั้งยอย่องผู้ทรงภูมิปัญญา หรือปราชญ์
ท้องถิ่น เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี นอกจากนี้ยังเป็นการประชาสัมพันธ์ท้องถิ่นตนด้วย
         3. ระดับบุคคล บุคลากรทุกคน ไม่ว่าจะเป็นของหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน แม้แต่ผู้ที่ทำงานส่วนตัว
สมารถช่วยกันสอดส่องดูแลถาวรวัตถุ โบราณสถาน เบราณวัตถุ วัดวาอาราม ฯลฯ ซึ่งเป็นสมบัติของชาติ
ไม่ให้ถูกทำลาย เป็นหูเป็นตาให้เจ้าหน้าที่ รวมทังพฤติกรรมเป็นแบบอย่างที่ดี ใช้ของไทย ส่งเสริมของไทย และส่งเสริมชาวต่างชาติให้ใช้ของไทย ก็นับว่าได้ช่วยอนุรักษ์เอกลักษณ์ไทยแล้ว